วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หน่วยการเรียนรู้สามัคคีเภทคำฉันท์

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
รหัสวิชา ๓๓๑๐๒ วิชา ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๒ เวลา ๑๒ ชั่วโมง
ผู้สอน นางขนิษฐา สิงห์ทองลา โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย


มาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ม.๔-๖
ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสนใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน (๔ ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัด
๑.๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้อง ไพเราะและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
๑.๒ ตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน
๑.๗ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงาน
๑.๘ สังเคราะห์ความรู้จากการอ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาตน พัฒนาการเรียน และพัฒนาความรู้ทางอาชีพ
ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูล สารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ( ๒ ตัวชี้วัด )
๒.๑ เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียงถูกต้องมีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
๒.๕ ประเมินงานเขียนของผู้อื่นแล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารญาณและสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด ( ๑ ตัวชี้วัด)
๓.๕ พูดในโอกาสต่าง ๆ พูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ และเสนอแนวคิดใหม่ด้วยภาษาถูกต้องเหมาะสม
ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาไทย และหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ( ๑ ตัวชี้วัด )
๔.๔ แต่งบทร้อยกรอง กาพย์ โคลง ร่าง และฉันท์
๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า แลนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ( ๓ ตัวชี้วัด)
๕.๓ วิเคราะห์และประเมินค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
๕.๔ สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๕.๖ ท่องจำและบอกกคุณค่าบทอาขยาน ตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
สาระสำคัญ
การอ่านวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ นักเรียนต้องมีพื้นฐานความรู้คำศัพท์ที่ใช้แต่ง
คำประพันธ์ประเภทคำฉันท์ จึงจะสามารถจับใจความสำคัญ ตีความ แปลความ วิเคราะห์ ประเมินข้อคิดเรื่องความสามัคคีในหมู่คณะ และการศึกษารูปแบบการเขียนคำฉันท์การเลือกรับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความสมานฉันท์ในชาติก็เป็นพื้นฐานในการฝึกทักษะการเขียนคำประพันธ์ประเภทคำฉันท์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์ เกิดความภาคภูมิใจในผลงานและสามารถท่องคำประพันธ์ที่ชอบได้
สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านคำประพันธ์ประเภทฉันท์ (๓ ชั่วโมง)
๒. รูปแบบฉันทลักษณ์และหลักการเขียนคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ( ๔ ชั่วโมง)
๓. การพิจารณาเลือกรับข่าวสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเป็นประโยชน์ในการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคี (๒ ชั่วโมง)
๔. การวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินคุณค่าด้านต่าง ๆ ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
(๓ ชั่วโมง)
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. ความสามารถในการสื่อสาร
๒. ความสามารถในการคิด
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. ซื่อสัตย์สุจริต
๒. มุ่งมั่นในการทำงาน





ชิ้นงาน/ภาระงาน/การประเมิน
ชิ้นงาน
ภาระงาน
การประเมิน

ฝึกอ่านฉันท์ ๑๐ ประเภท
สังเกต/ประเมินการอ่านฉันท์
งานเขียนฉันท์ ๒ ประเภท
ศึกษาและฝึกการเขียนฉันท์
ประเมินการเขียนฉันท์

พูดเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคี
สังเกต

วิเคราะห์รูปแบบ เนื้อหา ประเมินคุณค่าเรื่องที่เรียน
แบบทดสอบกลางภาค

กิจกรรมการเรียนรู้
๑. ผู้เรียนฟังตัวอย่างการอ่านคำฉันท์และฝึกทักษะการอ่านคำฉันท์
๒. ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องรูปแบบฉันลักษณ์พร้อมตัวอย่างการเขียนคำฉันท์ แล้วเขียนเป็นผลงานของตัวเอง
๓. ผู้เรียนรับข่าวสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับความสามัคคี และนำเสนอแนวคิดของตนเอง
๔. ผู้เรียนศึกษาวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์และทำกิจกรรมท้ายบทเรียน และนำความรู้ความเข้าใจตลอดจนข้อคิดที่ได้ไปทำแบบทดสอบกลางภาค
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑. วี ซี ดี การอ่านคำประพันธ์
๒. ใบความรู้เรื่องรูปแบบฉันลักษณ์พร้อมตัวอย่างการเขียนคำฉันท์
๓. ใบงานการแต่งคำฉันท์
๔. ข่าวสารจากสื่อวิทยุ/โทรทัศน์/อินเตอร์เน็ท

............................จบหน่วยการเรียนรู้สามัคคีเภทคำฉันท์..............................

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่องย่อขุนช้างขุนแผน

เรื่องย่อขุนช้างขุนแผน
เนื้อเรื่องตอนที่ ๑ เปิดเรื่อง
กล่าวถึงกำเนิดของตัวละครสำคัญสามตัว คือ ขุนแผน ขุนช้าง และนางพิมพิลาไลย

พลายแก้วเป็นลูกของขุนไกรพลพ่ายกับนางทองประศรี ขุนไกรถูกสมเด็จพระพันวษาสั่งให้ประหารชีวิต เพราะความผิดที่ได้ฆ่ากระบือพระที่นั่ง เนื่องจากกระบือแตกตื่นขวิดผู้คน เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรีเพื่อล่ากระบือ มารดาจึงพาไปอยู่กับญาติที่เมืองกาญจนบุรี
ขุนช้างเป็นลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง บิดาถูกโจรฆ่าตาย
นางพิมเป็นลูกของพันศรโยธากับนางศรีประจัน บิดาเป็นไข้ป่าถึงแก่ความตาย
ทั้งพลายแก้ว ขุนช้าง และนางพิมเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็ก พลายแก้วได้บวชเป็นสามเณร
และเล่าเรียนวิชาที่กาญจนบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่วัดป่าเลไลยก์เมืองสุพรรณ ส่วนขุนช้างแต่งงานกับนางแก่นแก้วได้ปีกว่าภรรยาก็ตาย นางพิมพบกับเณรแก้วที่วัดเมื่อคราวไปทำบุญกับมารดา ต่างก็จำกันได้จึงมีจิตผูกรักต่อกัน ต่อมาได้นางสายทองพี่เลี้ยงของนางพิมเป็นสื่อนัดแนะ จนเณรแก้วได้เสียกับนางพิม และได้นาง สายทองเป็นภรรยาอีกคน เมื่อถูกสมภารให้ออกจากวัดป่าเลไลยก์ ก็ไปอยู่กับสมภารคงวัดแค และได้เล่าเรียนวิชาทางไสยศาสตร์หลายอย่าง ต่อมาเมื่อทราบว่าขุนช้างได้มาสู่ขอนางพิม เณรแก้วจึงลาอาจารย์สึกแล้วให้มารดาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกันตามประเพณี เมื่อเกิดศึกเชียงใหม่ยกมาตีเมืองเชียงทอง อันเป็นอาณาเขตกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาทรงทราบถึงความสามารถของพลายแก้ว ก็รับสั่งให้เข้าเฝ้า และแต่งตั้งให้แม่ทัพไปรบที่เชียงทอง จนตีเมือง เชียงทองได้ชัยชนะ แล้วยกทัพตามทัพเชียงใหม่ไปถึงลำพูน ตั้งค่ายที่บ้านจอมทอง
แสนคำแมนได้ยกนาง ลาวทองให้เป็นภรรยา หลังจากพลายแก้วไปแล้วไม่นาน นางพิมได้ล้มป่วย เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นวันทองจึงหายป่วย ขุนช้างซึ่งยังต้องการนางเป็นภรรยาได้ใช้อุบายต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าพลายแก้วตายแล้ว และอ้างว่าเมื่อสามีไปทัพตายภรรยาจะถูกริบเป็นม่ายหลวง ประกอบทั้งถูกมารดาบังคับเฆี่ยนตี นางวันทองจึงเข้าพิธีแต่งงานกับขุนช้าง แต่ก็ยังรออยู่ไม่ยอมร่วมหอกับ
ขุนช้าง ฝ่ายพลายแก้ว เมื่อมีชัยชนะกลับมา ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน คุมไพร่พล
ห้าร้อยมีหน้าที่รักษาเขตแดนทางเมืองกาญจนบุรี เมื่อเดินทางกลับมาสุพรรณบุรีทราบเรื่องจากนางวันทอง ก็มีความโกรธจะฆ่าขุนช้าง แต่นางลาวทองซึ่งมากับขุนแผนด้วยห้ามไว้ ด้วยความ
หึงหวง นางวันทองกับนางลาวทองเกิดทะเลาะกัน เป็นเหตุให้นางวันทองกล่าวถ้อยคำก้าวร้าวขุนแผน ขุนแผนโกรธถึงกับจะฆ่านางวันทองพร้อมทั้งแสดงอาการไม่ไยดี พานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี นางวันทองคิดว่าขุนแผนสิ้นรักนางแล้วจึงยอมเป็นภรรยาขุนช้าง
เนื้อเรื่องตอนที่ ๒ ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง
ขุนแผนลอบขึ้นเรือนขุนช้าง ใช้มนต์สะกดผู้คนในเรือนแล้วเข้าห้อง เห็นขุนช้างนอนอยู่
กับนางวันทองก็โกรธ จึงมัดขุนช้างกับนางวันทองติดกัน แล้วให้ตามผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาให้
รับรู้ พร้อมแจ้งให้กำนันทราบแล้วก็กลับไป ต่อมามีรับสั่งให้ขุนแผนเข้าไปฝึกหัดราชการที่
กรุงศรีอยุธยา พอถึงเวรขุนแผน บังเอิญนางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนฝากเวรไว้กับขุนช้างซึ่ง
รับราชการอยู่ด้วยกัน แล้วออกไปเฝ้าไข้นางลาวทอง เมื่อสมเด็จพระพันวษาเสด็จออกว่าราชการไม่เห็นขุนแผนก็รับสั่งถามถึง ขุนช้างคิดกำจัดขุนแผนอยู่แล้ว จึงทูลว่าขุนแผนละทิ้งหน้าที่ไปหาภรรยา พระพันวษาทรงกริ้ว จึงสั่งลงโทษขุนแผนให้ออกตระเวนอยู่ตามชายแดนห้ามเข้ามาในกรุงและกักขังนางลาวทองไว้ในพระราชวัง ขุนแผนเมื่อทราบความจริงจึงผูกพยาบาทขุนช้าง ขณะเดียวกันก็แสวงหาของวิเศษที่ทำให้
มีฤทธิ์มาก คือกุมารทอง ดาบฟ้าฟื้น และม้าสีหมอก โดยได้ฝากตัวอยู่กับหมื่นหาญซึ่งเป็นนาย
ซ่องโจร ได้นางบัวคลี่ ลูกสาวหมื่นหาญเป็นภรรยา ต่อมาหมื่นหาญไม่พอใจที่ขุนแผนไม่ยอมออกปล้น จึงคิดกำจัดเสีย โดยให้นางบัวคลี่วางยาพิษ แต่พรายได้กระซิบให้ขุนแผนรู้ ขุนแผนจึงฆ่าบัวคลี่ ควักเอาลูกในท้องไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง เมื่อกลับมากาญจนบุรีก็ทำพิธีตีดาบตามตำรามหาศาสตราคม ให้ชื่อว่าดาบฟ้าฟื้น แล้วเดินทางไปแสวงหาม้าสีหมอกตามตำราที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้แล้วก็เดินทางกลับกาญจนบุรี
ต่อมาขุนแผนคิดถึงนางวันทองจึงเดินทางไปสุพรรณบุรี ขึ้นเรือนขุนช้าง สะกดผู้คนให้หลับแล้วเดินหาห้องนางวันทอง พบนางแก้วกิริยาบุตรีพระยาสุโขทัยซึ่งบิดานำมาขัดดอกกับขุนช้าง
จึงได้นางแก้วกิริยาเป็นภรรยาแล้วมอบแหวนไว้แทนตัวพร้อมให้เงินไว้ไถ่ตัว ขุนแผนได้พานางวันทองหนีไปจากบ้านขุนช้าง ชุนช้างพาพวกพ้องติดตามไปทันในป่าแต่สู้ขุนแผนไม่ได้ จึงเข้ากราบทูลกล่าวโทษขุนแผนต่อพระพันวษา พระพันวษาจึงมีหมายรับสั่งให้จับขุนแผนกับนางวันทองส่งมากรุงศรีอยุธยา ขุนแผนพานางวันทองซึ่งตั้งท้องได้เจ็ดเดือนเข้ามอบตัวต่อเจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิจิตรทำใบบอกส่งตัวขุนแผนกับนางวันทองเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา นางแก้วกิริยาซึ่งได้ไถ่ตัวเป็นอิสระแล้วได้พบขุนแผนกับนางวันทองขณะถูกจองจำด้วยโซ่ตรวนระหว่างถูกส่งตัวเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษารับสั่งให้ชำระคดีระหว่างขุนแผนกับขุนช้าง คณะตุลาการตัดสินให้ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืนไป ขุนแผนเกิดคิดถึงนางลาวทอง ซึ่งถูกกักขังอยู่ จึงขอให้จมื่นศรีเสาวรักษ์ ทูลขออภัยโทษให้นางลาวทอง พอกราบทูล พระพันวษาทรงกริ้วมากสั่งให้เอาขุนแผนไปจองจำไว้ นางแก้วกิริยาได้ขอเข้าไปปรนนิบัติขุนแผนอยู่ในคุก ส่วนนางวันทองถูกขุนช้างกับบ่าวไพร่มาฉุดคร่าไปสุพรรณบุรี นางจึงอยู่กับขุนช้างจนคลอดบุตรให้ชื่อว่า พลายงาม ขุนช้างคิดกำจัดพลายงามอยู่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าเป็นลูกขุนแผน เมื่อพลายงามอายุ ๑๐ ขวบ ขุนช้างได้ลวงพลายงามไปป่าเพื่อฆ่าให้ตาย แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองให้พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรี นางทองประศรีได้เลี้ยงดูพลายงาม และพาไปเยี่ยมขุนแผนในคุก นางได้สั่งสอนคาถาอาคมต่าง ๆ ตามตำราของขุนแผนให้จนเก่งกล้าเหมือนขุนแผน พออายุได้ ๑๓ ปี นางทองประศรีนำพลายงามมาฝากกับ จมื่นศรีฯ เพื่อให้พาเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเนื้อเรื่องตอนที่ ๓ ศึกที่เมืองเชียงใหม่ เกิดศึกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากพระเจ้าล้านช้างได้ส่งนางสร้อยทองพระราชธิดามาถวายสมเด็จพระพันวษา และพระเจ้าเชียงใหม่ได้มาชิงนางสร้อยทองไปในระหว่างทาง สมเด็จพระพันวษาโปรดให้หาผู้อาสายกทัพไปรบกับพระเจ้าเชียงใหม่ จมื่นศรีฯจึงได้นำพลายงามเข้าอาสา ทรงโปรดให้พลายงามยกทัพไปพร้อมกับพระราชทานอภัยโทษให้ขุนแผนและนางลาวทอง โปรดให้ขุนแผนไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ด้วย ก่อนไปขุนแผนให้รับนางทองประศรีมาอยู่กับนางลาวทองและนางแก้วกิริยา ตอนขุนแผนกรีธาทัพไปตีเชียงใหม่นางแก้วกิริยาก็คลอดบุตรให้ชื่อว่า พลายชุมพล ระหว่างเดินทัพไปตีเชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมเจ้าเมืองพิจิตร และรับม้าสีหมอก ซึ่งฝากไว้เมื่อคราวเข้ามอบตัว พลายงามได้สู้รบกับทัพเมืองเชียงใหม่จนได้ชัยชนะ ชิงนางสร้อยทองคืน ในการยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้นำพระเจ้าเชียงใหม่ มเหสี และนางสร้อยฟ้าผู้เป็นธิดาลงมาด้วย สมเด็จพระพันวษาทรงแต่งตั้งให้ขุนแผนเป็นพระสุรินทรฦาไชย ครองเมืองกาญจนบุรี
ตั้งพลายงามให้เป็นจมื่นไวยวรนาถ ให้พระเจ้าเชียงใหม่กลับไปครองเมืองเช่นเดิม ทรงแต่งตั้งนางสร้อยทองให้เป็นพระสนม และพระราชทานสร้อยฟ้าแก่จมื่นไวย ฯ ซึ่งได้แต่งงานกับนางสร้อยฟ้าและศรีมาลาพร้อมกัน ในวันแต่งงานของจมื่นไวยฯ ขุนช้างเมาแล้วเกิดทะเลาะกัน จนจมื่นไวย ฯ บันดาลโทสะทำร้ายขุนช้าง ขุนช้างจึงเข้าเฝ้ากราบทูลกล่าวโทษจมื่นไวย ฯ เมื่อมีการสืบเรื่องที่ขุนช้างทำร้าย
จมื่นไวย ฯ สมัยเมื่อเป็นเด็กขึ้น ขุนช้างปฏิเสธ จึงมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำก็ปรากฏว่าขุนช้างแพ้ รับสั่งให้ประหารชีวิตขุนช้าง แต่จมื่นไวย ฯ ได้ทูลขอพระราชทานอภัยโทษไว้ ต่อมาจมื่นไวย ฯ คิดแค้นที่แม่ไปอยู่กับขุนช้าง จึงลอบขึ้นเรือนขุนช้างกลางดึก อ้อนวอนและบังคับนางวันทองไปกับตน นางไม่อาจขัดขืนได้ก็ยอมไป ขุนช้างแค้นเคืองมากที่จมื่นไวยฯ ลักนางวันทองไป จึงทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยฯ เมื่อพระพันวษาโปรดให้ไต่สวนคดีตามฎีกาของขุนช้าง จึงให้นางวันทองซึ่งเป็นคนกลางตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่กับขุนช้าง ขุนแผน หรือจมื่นไวย ฯ นางทูลตอบว่ารักทั้ง ๓ คนเท่า ๆ กัน สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วหาว่าเป็นคนสองใจ จึงรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิต แม้ว่าจมื่นไวยฯ ได้กลับไปเข้าเฝ้าทูลขอพระราชทานอภัยโทษ และทรงโปรดพระราชทานแล้วก็ตาม แต่เพชฌฆาตได้ลงดาบก่อนที่จะยับยั้งไว้ทัน นางวันทองจึงถูกประหารชีวิตเนื้อเรื่องตอนที่ ๔ กรณีสร้อยฟ้ากับศรีมาลา
ฝ่ายนางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลา ภรรยาของจมื่นไวย ฯ มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันด้วยความ
หึงหวงอยู่เสมอ เนื่องจากหมื่นไวย ฯ รักนางศรีมาลามากกว่า นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์เพื่อจมื่นไวย ฯ จะได้หลงรัก จมื่นไวย ฯ หลงเสน่ห์จนถึงกับทุบตีนางศรีมาลา แม้พลายชุมพลได้เข้าขัดขวางก็ไม่อาจทัดทานได้ พลายชุมพลจึงหนีไปพบพ่อและแม่ที่กาญจนบุรี เล่าเรื่องจมื่นไวย ฯ ให้พ่อแม่ฟัง แล้วไปอยู่กับตายายที่สุโขทัย ฝ่ายขุนแผนก็มากรุงศรีอยุธยาเพื่อแก้เสน่ห์ให้จมื่นไวยฯ ส่วนนางศรีมาลาก็แจ้งข่าวไปเมืองพิจิตรว่าตนป่วย ให้พ่อกับแม่รีบลงมา เมื่อทุกคนมาพร้อมกันก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ซ้ำขุนแผนกลับทะเลาะกับจมื่นไวย ฯ ถึงขนาดตัดพ่อตัดลูก จนต้องเดินทางกลับกาญจนบุรีด้วยความแค้น พลายชุมพลเมื่อไปอยู่กับตายายที่สุโขทัยก็บวชเป็นเณร ได้เล่าเรียนหนังสือและวิชาคาถาอาคมจนเชี่ยวชาญ เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตนหนีมาก็แค้นใจมาก จึงได้นัดหมายกับขุนแผนจะไปล้างแค้นจมื่นไวย ฯ จึงสึกจากเณรแล้วปลอมตัวเป็นมอญใหม่ คุมทัพหุ่นยกมาทำทีจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษารับสั่งให้ขุนแผนยกไปต่อสู้ ขุนแผนทำเป็นแพ้ให้พลายชุมพลจับตัวไป จมื่นไวย ฯ อาสาออกรบ เดินทัพมาพบเปรตนางวันทองห้ามทัพไว้แต่ไม่สำเร็จ เมื่อจมื่นไวย ฯ กับพลายชุมพลรบติดพันกันอยู่ ขุนแผนเข้ามาจะฟันจมื่นไวย ฯ จมื่นไวย ฯ จึงหนีเข้ามากราบทูลให้สมเด็จพระวษาทรงทราบ จึงโปรดให้นางศรีมาลาไปรับขุนแผนและพลายชุมพลเข้ามา ขุนแผนกราบทูลเรื่องจมื่นไวย ฯ ถูกเสน่ห์ พลายชุมพลกับจมื่นไวยฯ อาสาไปจับเสน่ห์ โดยปลอมตัวนำของมึนเมาไปมอมเถรขวาด จนรู้รายละเอียดแล้วจึงจับเถรขวาดขังไว้ แต่เถรขวาดก็สะเดาะโซ่ตรวน แปลงตัวเป็นจระเข้หนีไปได้ เมื่อโปรดให้มีการไต่สวนคดีทำเสน่ห์ โดยให้นางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์นางสร้อยฟ้าเป็นฝ่ายแพ้ จึงโปรดให้ประหารชีวิตนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาทูลขอพระราชทานชีวิตไว้ เพราะนางสร้อยฟ้ากำลังตั้งท้อง จึงถูกเนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง ต่อมานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ชื่อพลายเพชร เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอมเป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทางเหนือ พระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหาร ในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายผ่านไป ทุกคนก็อยู่ด้วยความเป็นสุข

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ตัวอย่างแบบทดสอบเรื่องภาษากับเหตุผล

๑. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากข้อความต่อไปนี้
“ทำไมพวกเราส่วนใหญ่จึงไม่ถามตนเองบ้างว่ามีอารมณ์ขันอยู่บ้างไหม และหากไม่มีเหตุใด
จึงไม่มี และเราจะทำอย่างไรได้หรือไม่”
ก. คนเราควรมีอารมณ์ขัน
ข. อารมณ์ขันสามารถสร้างได้
ค. ผู้พูดเห็นประโยชน์ของอารมณ์ขัน
ง. ผู้พูดแนะวิธีสร้างอารมณ์ขัน
๒. จากคำประพันธ์ต่อไปนี้ ข้อใดไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์
“ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กวี ไว้เกียรติ และนามกรณ์
ก. มีฝีมือ ข. สงวนท่าที
ค. หยิ่งในเกียรติ ง. เชื่อมั่นในตัวเอง
๓. คำขวัญข้อใดแสดงเหตุผล
ก. ลูกมากจะยากจน ข. เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า
ค. น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ ง. เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ
๔. ข้อใดมีเนื้อความไม่สมเหตุสมผล
ก. ประเพณีรับน้องใหม่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน แต่ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์
ข. การเข้าแถวเคารพธงชาติในตอนเช้า จะช่วยปลุกสำนึกให้เกิดความรักและภูมิใจในชาติ
ค. การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้มาก
ง. การออกกำลังในตอนเช้าดีต่อสุขภาพ เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนไม่พลุกพล่านมากนัก
๕. ข้อความต่อไปนี้มีโครงสร้างการแสดงเหตุผลตามข้อใด
๑) ความสนุกเกิดจากใจและกายที่สอดคล้องกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ๒)ใจอยากสนุก ร่างกายไม่เป็นใจก็นึกสนุกไม่ได้ ๓) ในทางกลับกัน ร่างกายพร้อมที่จะสนุกใจไม่เป็นไปด้วย ก็หมดโอกาสสนุก
ก. ๑) เป็นข้อสรุป ๒) และ ๓) เป็นข้อสนับสนุน
ข. ๑) เป็นข้อสนับสนุน ๒) และ ๓) เป็นข้อสรุป
ค. ๑) และ ๓) เป็นข้อสรุป ๒) เป็นข้อสนับสนุน
ง. ๑) และ ๓) เป็นข้อสนับสนุน ๒) เป็นข้อสรุป
๖. ข้อความต่อไปนี้สรุปความได้ตามข้อใด
“ทุกวันนี้อารยธรรมต่างประเทศหลั่งไหลเข้าประเทศมาก ทั้งวัตถุนิยม คตินิยม ความเชื่อ ถ้าคนไทยอ่อนไหว รับวัฒนธรรมต่างประเทศ ความเป็นชาติไทยก็จะหมดไปเรื่อย ๆ คนรุ่นหลังจะไม่มีโอกาสเห็นศิลปวัฒนธรรมไทย คนรุ่นเราจะต้องตระหนังสืบทอดสานต่องานที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้อย่างมหาศาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ก. คนรุ่นหลังจะไม่ได้เห็นศิลปวัฒนธรรมไทย ถ้าคนรุ่นปัจจุบันยังลุ่มหลงวัฒนธรรมต่างประเทศ
ข. อารยธรรมต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามามาก เพราะคนไทยอ่อนไหวและเชื่อง่าย
ค. การรับวัฒนธรรมต่างประเทศ ทำลายความเป็นชาติไทย
ง. คนไทยควรเห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
๗. ข้อความตอนใดมีการใช้เหตุผล
๑) พายุใหญ่ที่พัดกระหน่ำนาวาชีวิตครอบครัวคุณนั้นหนักหน่วง คุณควรถือประสบการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่/ ๒) หากคุณเป็นคนเดินเรือคุณจะต้องรู้ว่าพายุนั้นมีอยู่คู่ทะเลเสมอ/ ๓) คุณจะหวังว่าชั่วชีวิตคุณจะโชคดี ไม่ต้องเผชิญพายุนั้นไม่ได้/ ๔) ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ให้บทเรียนที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตลอดไป
ก. ตอนที่ ๑) ข. ตอนที่ ๒)
ค. ตอนที่ ๓) ง. ตอนที่ ๔)
๘. ข้อใดเป็นการอธิบายจากผลไปหาเหตุ
ก. พี่ชมแล้วให้ตรมระบมกาย ด้วยเจ้าสายสุดใจมิได้มา
ข. เห็นลมอื้อจะใคร่สื่อสาระสั่ง ถึงร้อยชั่งคู่เชยเคยถนอม
ค. ประจวบจนถึงตำบลบ่อโศก ยามวิโยคออกชื่อก็ครือหู
ง. พี่จากจรดวงใจมาไกลเชย โอ้อกเอ๋ยแทบพังเหมือนฝั่งชล
๙. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่อาจอนุมานได้
“บ้านทรงไทยในสมัยก่อน นิยมยกพื้นสูง ไม่ใช่เพื่อความสวยงามอย่างเดียว แต่เป็นการนำภูมิปัญญาไทยและเข้าใจและเคารพธรรมชาติมาเป็นแนวคิดสำคัญในการออกแบบ หรือก่อสร้างบ้านเรือน ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือป้องกันอันตรายจากสัตว์ คนร้าย และป้องกันภัยน้ำท่วม”
ก. ผู้เขียนน่าจะเป็นสถาปนิก
ข. ชักชวนให้ปลูกบ้านใต้ถุนสูง
ค. ให้เลิกสร้างบ้านแบบตะวันตก
ง. บ้านทรงไทยเหมาะแก่เมืองไทย
๑๐. คำขวัญในข้อใดมีการแสดงเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล
ก. หนึ่งเสียงของท่าน รังสรรค์บ้านเมือง
ข. ระบบพรรคดี ผู้สมัครมีคุณธรรม
ค. ไม่ป้องคนพาล ไม่อภิบาลคนชั่ว
ง. บ้านเมืองใช่ของใคร อย่าแยกค่ายแยกมุ้ง
๑๑. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นบุคลิกภาพของผู้พูดในคำประพันธ์ต่อไปนี้
พระคุณเอ่ยจะคิดดูบ้างเป็นไรเล่า ว่ามัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมา ดังเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน นอกกว่านั้นที่แน่นอน คือนางไหนอันสนิทชิดใช้แต่ก่อนกาลยังจะติดตาม
พระราชสมภารมาบ้างละหรือ ได้แต่มัทรีผู้แสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปลิ้นปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี”
ก. จงรักภักดี ข. ไม่เห็นแก่ตัว
ค. ขาดเหตุผล ง. เจ้าโวหาร
๑๒. ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่อาจอนุมานได้
“สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวจึงไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร”
ก. ครอบครัวส่วนมากพ่อแม่ทำงานนอกบ้าน
ข. พ่อแม่ไม่มีเวลารับฟังปัญหาของลูก
ค. สมาชิกในครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันน้อย
ง. เวลาส่วนใหญ่ของลูกอยู่กับเพื่อนที่โรงเรียน
๑๓. ข้อใดมีการแสดงเหตุผล
ก. บ้านเมืองสะอาด ประชาชาติปลอดโรค
ข. เติมน้ำมันทีไร ขับไปได้หน่อยเดียว
ค. ภูมิปัญญาไทย ขอจงร่วมใจส่งเสริม
ง. รักชาติศาสน์กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของคนไทย
๑๔. ข้อความต่อไปนี้เป็นการอ้างเหตุผลตามข้อใด
“จังหวัดสระแก้วเป็นสวรรค์ของคนรักธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขาสูงใหญ่ มีต้นน้ำที่สำคัญหลายสายที่เกิดจากหุบเขาเหล่านี้”
ก. จากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ ข. จากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
ค. จากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ ง. จากสาเหตุไปหาสาเหตุ
๑๕. ข้อความต่อไปนี้มีโครงสร้างการแสดงเหตุผลตามข้อใด
๑) การใช้พลังงานอย่างผิดวิธีของเด็กมักเกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจ ๒) เนื่องจากเขาไม่ได้เรียนรู้วิธีการประหยัดพลังงานที่ถูกต้อง ๓) และไม่ได้ฝึกให้เคยชินเป็นนิสัย
ก. ๑) และ ๒) เป็นข้อสรุป ๓) เป็นข้อสนับสนุน
ข. ๑) และ ๒) เป็นข้อสนับสนุน ๓) เป็นข้อสรุป
ค. ๑) เป็นข้อสรุป ๒) และ ๓) เป็นข้อสนับสนุน
ง. ๑) เป็นข้อสนับสนุน ๒) และ ๓) เป็นข้อสรุป
๑๖. ข้อใดที่อนุมานไม่ได้จากข้อความต่อไปนี้
“ตั้งแต่ลูก ๆ ของสมศรีสามารถเลี้ยงตัวเองได้ เธอก็เลิกกิจการรับซื้อของเก่า และไปเข้าวัดฝึกสมาธิ”
ก. สมศรีเคยทำงานเลี้ยงดูลูก ๆ ข. ลูก ๆ ช่วยกันเลี้ยงสมศรี
ค. สมศรีสนใจการนั่งสมาธิ
ง. สมศรเคยมีรายได้จากการซื้อขายของเก่า
๑๗. ข้อใดที่อนุมานไม่ได้จากข้อความต่อไปนี้
“น้องของชัยวัฒน์สอบเข้าได้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกับเขา ซึ่งเกินความคาดหมายของทุกคนในครอบครัว”
ก. ชัยวัฒน์มีน้องชาย ข. น้องของชัยวัฒน์เรียนไม่เก่งมาก
ค. ชัยวัฒน์เรียนในระดับอุดมศึกษา
ง. คนในครอบครัวไม่คิดว่าน้องจะสอบเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ได้
๑๘. วิธีการอนุมานในข้อใดต่างกับข้ออื่น
ก. นักเรียนคนนั้นอาจสอบตก เขาฟังคำอธิบายไม่ทัน เข้าเรียนก็สาย
ข. คนมาชมการแสดงมากเกินความคาดหมายจนเกิดความแออัด อาจมีคนเป็นลมได้
ค. ผู้ปกครองกับครูประจำชั้นร่วมมือกันดูแลบุตรหลานดีเช่นนี้ นักเรียนคงมีผลการเรียนดีขึ้น
ง. อาจารย์ที่ปรึกษาอธิบายวิธีทำแบบทดสอบเกือบชั่วโมง นักเรียนน่าจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง
๑๙. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้างท้าย
นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันลองยื่นหน้าลงไปในปล่องภูเขาไฟที่มอดแล้ว แต่ยังทิ้งความร้อนไว้ไม่น้อย “โอ้โหร้อนอะไรอย่างนี้ ร้อนเหมือนนรกเลย” ฝรั่งร้องลั่น คนนำทางพื้นเมืองถึงกับมองหน้ากันด้วยความทึ่ง “นี่ถ้าไม่ได้ยินกับหู ข้าไม่เชื่อจริง ๆ นะ ที่เค้าว่าพวกฝรั่งเนี่ยเป็นนักท่องเที่ยวตัวยง ข้าเพิ่งเชื่อนี่ล่ะ” จงอนุมานว่า คนนำทางพื้นเมืองประหลาดใจเพราะเหตุใด
๒๐. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้างท้าย
ผู้นำทางที่ใจกว้างคนหนึ่งต้องการจะผูกใจลูกน้องฝีมือดีที่เพิ่งชวนมาอยู่ด้วย จึงให้สิ่งของเงินทองแก่ลูกน้องผู้นั้นอย่างมากมาย วันหนึ่งเขาให้ม้าฝีเท้าดีตัวหนึ่งแก่ลูกน้อง เมื่อเห็นสีหน้ายินดีของลูกน้องเขาก็ถามว่า “เราให้เงินทองสิ่งของแก่ท่านเป็นอันมาก ท่านก็ไม่ยอนดีเหมือนเราให้ม้าตัวนี้ เหตุไฉนท่านจึงรักม้าอันเป็นสัตว์เดรัจฉานมากกว่าทรัพย์สินเล่า” ลูกน้องตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้มาว่าม้าตัวนี้มีฝีเท้าดีมาก และมีกำลังเดินทางได้ไกล เมื่อใดที่ข้าพเจ้ารู้ว่านายเก่าของข้าพเจ้าอยู่ที่ใด ถึงไกลเพียงใด ข้าพเจ้าก็จะขี่ม้าตัวนี้ไปหาทันที”
จงอนุมานว่า ผู้นำคนนั้นจะมีความรู้สึกอย่างไร

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

บทอาขยานมงคลสูตรคำฉันท์

หนึ่งคือบคบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญการที่ ณ อดีตมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
อีกศิลปศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
บำรุงบิดามา ตุรด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป บมิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี